การนำของเข้าโดยบุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์

ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ หมายถึง ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศ หรือทางการทูต ซี่งได้ปฏิบัติต่อกันโดยอัธยาศัยไมตรีซี่งการนำเข้าของเหล่านี้จะได้รับการยกเว้นอากร

หลักเกณฑ์การยกเว้นอากรของที่ได้รับเอกสิทธิ์ที่นำเข้ามาตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อนานาประเทศ

มีดังนี้
  1. ตามข้อผูกพันกับองค์การสหประชาชาติและทางการทูต การนำของเข้าของหน่วยงานสังกัดองค์การสหประชาชาติและสถานทูตชาติต่างๆ จะอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ กรมพิธีการทูต ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาทั้งชนิดของของและปริมาณนำเข้าที่จะได้รับยกเว้นอากร ตลอดจนควบคุมดูแลการนำของเข้าโดยได้รับยกเว้นอากรของเจ้าพนักงานของหน่วยงานที่สังกัดองค์การสหประชาชาติและข้าราชการสถานทูต ซึ่งจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นอากรในการนำเข้าของใช้ส่วนตัว ของใช้ในบ้านเรือน และรถยนต์คนละหนี่งคัน
  2. ตามสัญญาข้อตกลงความร่วมมือที่นานาประเทศให้แก่ประเทศไทย สัญญาดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลไทยยกเว้นอากรแก่ของที่นำเข้ามาใช้ในโครงการความช่วยเหลือตลอดจนให้ยกเว้นอากรแก่ของใช้ส่วนตัว ของใช้ในบ้านเรือนของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยตามโครงการความช่วยเหลือ และรถยนต์ของผู้เชี่ยวชาญคนละ 1 คัน ทั้งนี้ของเหล่านั้นจะต้องนำเข้ามาก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาไม่เกิน 1 เดือน หรือไม่เกิน 6 เดือนนับแต่ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยสัญญาข้อตกลงความช่วยเหลือที่นานาประเทศให้แก่ประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
    1. สัญญาข้อตกลงความช่วยเหลือที่ผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ไม่ว่าโครงการความช่วยเหลือนั้นจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบและดำเนินการของกรมใดก็ตาม กรมความร่วมมือระหว่างประเทศจะควบคุมดูแล การนำของเข้าและปฏิบัติพิธีการศุลกากร
    2. สัญญาข้อตกลงที่ไม่ผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสัญญาความตกลงที่หน่วยราชการอื่นๆ ทำกับนานาประเทศ โดยในสัญญากำหนดให้ยกเว้นอากรดังเช่นที่กล่าวในข้อ (2) และสัญญาความตกลงนั้นจะต้องผ่านคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย การพิจารณายกเว้นอากรของที่นำเข้าตามสัญญาความตกลงนี้ กรมศุลกากรจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
    3. ข้อตกลงที่ประเทศไทยมีต่อยูเนสโกตามความตกลงฟลอเรนส์ ซึ่งเป็นการตกลงให้ยกเว้นอากรในการนำเข้าวัสดุเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมที่นำเข้าโดยสถาบันการศึกษาและส่วนราชการการ นำของเข้าตามความตกลงฟลอเรนส์จะผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรเข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยใช้ความตกลงการนำเข้าฟลอเรนส์และกฎหมายศุลกากรเป็นหลักใหญ่ในการพิจารณา เมื่อผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรฯ เป็นประการใด คณะกรรมการฯจะแจ้งมติผลการพิจารณานั้นๆ มาให้กรมศุลกากรและหน่วยงานผู้ขอยกเว้นอากรขาเข้าทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายของความตกลงฟลอเรนส์ ซึ่งหน่วยงานและส่วนราชการพึงจะขอยกเว้นอากรนำเข้าได้นั้น ได้แก่ สิ่งของตามภาคผนวกของความตกลงการนำเข้าฟลอเรนส์ ดังต่อไปนี้
      ภาคผนวก ก. หนังสือ สิ่งพิมพ์ และเอกสาร
      ภาคผนวก ข. ศิลปวัตถุ และสิ่งที่นักสะสมรวบรวมไว้ ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
      ภาคผนวก ค. โสตทัศนวัสดุทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
      ภาคผนวก ง. เครื่องมือ เครื่อใช้วิทยาศาสตร์
      ภาคผนวก จ. สิ่งของสำหรับคนตาบอด
  3. ตามพระราชบัญญัติต่างๆ ที่บัญญัติให้ยกเว้นอากรนำเข้าแก่ของที่นำเข้ามาใช้ในโครงการต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ.2514 ซึ่งบัญญัติตามความในมาตรา 5 ให้ยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับเรือ ยานยนต์ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เฉพาะเมื่อศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความเห็นชอบในการเข้ามาในราชอาณาจักรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วเป็นต้น
  4. การยกเว้นอากรของที่นำเข้าที่ได้รับเอกสิทธิ์นี้ เป็นการยกเว้นให้แก่ผู้มีเอกสิทธิ์เป็นการเฉพาะตัวบุคคลหรือเฉพาะองค์กรเท่านั้น หากผู้ที่มีเอกสิทธิ์ได้รับการยกเว้นอากรโอนของที่ได้รับการยกเว้นอากรไปให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือนำไปใช้ในโครงการอื่น ที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากร ของนั้นจะสิ้นสิทธิในการยกเว้นอากรทันที โดยต้องปฏิบัติ ดังนี้
    1. ของที่โอนให้กับผู้ที่ไม่มีเอกสิทธิหรือนำไปใช้ในการอื่น ของนั้นจะต้องชำระอากรในกรณีที่ได้รับยกเว้นอากรและชำระอากรเพิ่มในกรณีที่ได้รับลดหย่อนอากร
    2. ผู้นำเข้าคือผู้รับผิดชอบในการชำระภาษี และจะต้องแจ้งขอชำระอากรต่อกรมศุลกากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โอนไปหรือนำไปใช้ประโยชน์ในการอื่น
    3. ต้องชำระอากรให้กรมศุลกากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจำนวนเงินอากรที่ต้องชำระ หรือชำระเพิ่ม
    4. การประเมินอากรที่ต้องชำระหรือชำระเพิ่มให้ประเมินตามสภาพ ราคา และ อัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่โอนหรือนำไปใช้ในการอื่น
  5. ของที่ได้รับการยกเว้นจากบทบังคับข้อ (4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้ของบางประเภทที่นำเข้าโดยได้รับยกเว้นอากรหลุดพ้นจากภาระภาษี ทั้งนี้จะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขใดๆ ไว้ด้วยก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกาหนดให้ของได้รับยกเว้นจากบทบังคับตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชกาหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ได้กำหนดให้ของดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นจากบทบังคับตามข้อ (4)
    1. เสบียง ยารักษาโรค ของใช้สิ้นเปลือง และของใช้ส่วนตัว ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรนำเข้ามาเพื่อใช้เอง บรรดาที่มีเหลืออยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้น หรือลดหย่อนอากรสิ้นสุด
    2. ของใช้ในบ้านเรือนที่นำเข้ามาเกินสองปี ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรได้นำเข้ามาเพื่อใช้เอง
    3. ของที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าชำรุดหรือเสียหายจนไม่อาจจะซ่อมเพื่อใช้การต่อไปอีกได้ ตามระเบียบพิธีการที่กรมศุลกากรกำหนด
    4. ของอื่นๆ ที่ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเกินห้าปี การยกเว้นจากบทบังคับตามข้อ (4) ไม่รวมถึงรถยนต์หรือยานยนต์ เว้นแต่กรณีในข้อ (6)
  6. รถยนต์ส่วนบุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต หรือเอกสิทธิ์ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ หรือองค์การระหว่างประเทศ จะได้รับยกเว้นจากบทบังคับตามตามข้อ (4) ในกรณีดังต่อไปนี้
    1. รถยนต์ซึ่งบุคคลที่มีเอกสิทธิทางการทูตหรือเอกสิทธิภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการหรือองค์การระหว่างประเทศได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเกินกว่า 5 ปีนับแต่วันนำเข้า
    2. รถยนต์ที่มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทย่อย 8703.21.43 ประเภทย่อย 8703.21.44 ประเภทย่อย 8703.21.45 ประเภทย่อย 8703.21.51 ประเภทย่อย 8703.21.59 ประเภทย่อย 8703.22.43 ประเภทย่อย 8703.22.44 ประเภทย่อย 8703.22.45 ประเภทย่อย 8703.22.46 ประเภทย่อย 8703.22.47 ประเภทย่อย 8703.22.51 ประเภทย่อย 8703.22.59 ประเภทย่อย 8703.22.90 ประเภทย่อย 8703.23.52 ประเภทย่อย 8703.23.53 ประเภทย่อย 8703.23.54 ประเภทย่อย 8703.23.55 ประเภทย่อย 8703.23.56 ประเภทย่อย 8703.23.57 ประเภทย่อย 8703.23.58 ประเภทย่อย 8703.23.61 ประเภทย่อย 8703.23.62 ประเภทย่อย 8703.23.63 ประเภทย่อย 8703.23.64 ประเภทย่อย 8703.23.65 ประเภทย่อย 8703.23.66 ประเภทย่อย 8703.23.67 ประเภทย่อย 8703.23.68 ประเภทย่อย 8703.23.71 ประเภทย่อย 8703.23.72 ประเภทย่อย 8703.23.73 ประเภทย่อย 8703.23.74 ประเภทย่อย 8703.24.42 ประเภทย่อย 8703.24.43 ประเภทย่อย 8703.24.44 ประเภทย่อย 8703.24.45 ประเภทย่อย 8703.24.49 ประเภทย่อย 8703.24.51 ประเภทย่อย 8703.24.59 ประเภทย่อย 8703.24.61 ประเภทย่อย 8703.24.69 ประเภทย่อย 8703.31.43 ประเภทย่อย 8703.31.44 ประเภทย่อย 8703.31.45 ประเภทย่อย 8703.31.46 ประเภทย่อย 8703.31.47 ประเภทย่อย 8703.31.51 ประเภทย่อย 8703.31.59 ประเภทย่อย 8703.31.90 ประเภทย่อย 8703.32.52 ประเภทย่อย 8703.32.53 ประเภทย่อย 8703.32.54 ประเภทย่อย 8703.32.61 ประเภทย่อย 8703.32.62 ประเภทย่อย 8703.32.63 ประเภทย่อย 8703.32.71 ประเภทย่อย 8703.32.72 ประเภทย่อย 8703.32.73 ประเภทย่อย 8703.32.74 ประเภทย่อย 8703.32.75 ประเภทย่อย 8703.32.76 ประเภทย่อย 8703.32.81 ประเภทย่อย 8703.32.82 ประเภทย่อย 8703.32.83 ประเภทย่อย 8703.33.52 ประเภทย่อย 8703.33.53 ประเภทย่อย 8703.33.54 ประเภทย่อย 8703.33.61 ประเภทย่อย 8703.33.62 ประเภทย่อย 8703.33.71 ประเภทย่อย 8703.33.72 ประเภทย่อย 8703.33.80 ประเภทย่อย 8703.33.90 ประเภทย่อย 8703.40.34 ประเภทย่อย 8703.40.42 ประเภทย่อย 8703.40.43 ประเภทย่อย 8703.40.44 ประเภทย่อย 8703.40.45 ประเภทย่อย 8703.40.46 ประเภทย่อย 8703.40.47 ประเภทย่อย 8703.40.52 ประเภทย่อย 8703.40.53 ประเภทย่อย 8703.40.54 ประเภทย่อย 8703.40.55 ประเภทย่อย 8703.40.56 ประเภทย่อย 8703.40.57 ประเภทย่อย 8703.40.58 ประเภทย่อย 8703.40.61 ประเภทย่อย 8703.40.62 ประเภทย่อย 8703.40.63 ประเภทย่อย 8703.40.64 ประเภทย่อย 8703.40.65 ประเภทย่อย 8703.40.66 ประเภทย่อย 8703.40.67 ประเภทย่อย 8703.40.68 ประเภทย่อย 8703.40.71 ประเภทย่อย 8703.40.72 ประเภทย่อย 8703.40.73 ประเภทย่อย 8703.40.74 ประเภทย่อย 8703.40.75 ประเภทย่อย 8703.40.76 ประเภทย่อย 8703.40.77 ประเภทย่อย 8703.40.81 ประเภทย่อย 8703.40.82 ประเภทย่อย 8703.40.83 ประเภทย่อย 8703.40.84 ประเภทย่อย 8703.40.85 ประเภทย่อย 8703.40.86 ประเภทย่อย 8703.40.87 ประเภทย่อย 8703.40.92 ประเภทย่อย 8703.40.93 ประเภทย่อย 8703.40.94 ประเภทย่อย 8703.40.95 ประเภทย่อย 8703.40.96 ประเภทย่อย 8703.40.97 ประเภทย่อย 8703.40.98 ประเภทย่อย 8703.50.34 ประเภทย่อย 8703.50.41 ประเภทย่อย 8703.50.42 ประเภทย่อย 8703.50.43 ประเภทย่อย 8703.50.44 ประเภทย่อย 8703.50.45 ประเภทย่อย 8703.50.46 ประเภทย่อย 8703.50.47 ประเภทย่อย 8703.50.51 ประเภทย่อย 8703.50.52 ประเภทย่อย 8703.50.53 ประเภทย่อย 8703.50.54 ประเภทย่อย 8703.50.55 ประเภทย่อย 8703.50.56 ประเภทย่อย 8703.50.57 ประเภทย่อย 8703.50.58 ประเภทย่อย 8703.50.61 ประเภทย่อย 8703.50.62 ประเภทย่อย 8703.50.63 ประเภทย่อย 8703.50.64 ประเภทย่อย 8703.50.65 ประเภทย่อย 8703.50.66 ประเภทย่อย 8703.50.67 ประเภทย่อย 8703.50.71 ประเภทย่อย 8703.50.72 ประเภทย่อย 8703.50.73 ประเภทย่อย 8703.50.74 ประเภทย่อย 8703.50.75 ประเภทย่อย 8703.50.76 ประเภทย่อย 8703.50.77 ประเภทย่อย 8703.50.81 ประเภทย่อย 8703.50.82 ประเภทย่อย 8703.50.83 ประเภทย่อย 8703.50.84 ประเภทย่อย 8703.50.85 ประเภทย่อย 8703.50.86 ประเภทย่อย 8703.50.87 ประเภทย่อย 8703.50.91 ประเภทย่อย 8703.50.92 ประเภทย่อย 8703.50.93 ประเภทย่อย 8703.50.94 ประเภทย่อย 8703.50.95 ประเภทย่อย 8703.50.96 ประเภทย่อย 8703.50.97 ประเภทย่อย 8703.60.34 ประเภทย่อย 8703.60.42 ประเภทย่อย 8703.60.43 ประเภทย่อย 8703.60.44 ประเภทย่อย 8703.60.45 ประเภทย่อย 8703.60.46 ประเภทย่อย 8703.60.47 ประเภทย่อย 8703.60.52 ประเภทย่อย 8703.60.53 ประเภทย่อย 8703.60.54 ประเภทย่อย 8703.60.55 ประเภทย่อย 8703.60.56 ประเภทย่อย 8703.60.57 ประเภทย่อย 8703.60.58 ประเภทย่อย 8703.60.61 ประเภทย่อย 8703.60.62 ประเภทย่อย 8703.60.63 ประเภทย่อย 8703.60.64 ประเภทย่อย 8703.60.65 ประเภทย่อย 8703.60.66 ประเภทย่อย 8703.60.67 ประเภทย่อย 8703.60.68 ประเภทย่อย 8703.60.71 ประเภทย่อย 8703.60.72 ประเภทย่อย 8703.60.73 ประเภทย่อย 8703.60.74 ประเภทย่อย 8703.60.75 ประเภทย่อย 8703.60.76 ประเภทย่อย 8703.60.77 ประเภทย่อย 8703.60.81 ประเภทย่อย 8703.60.82 ประเภทย่อย 8703.60.83 ประเภทย่อย 8703.60.84 ประเภทย่อย 8703.60.85 ประเภทย่อย 8703.60.86 ประเภทย่อย 8703.60.87 ประเภทย่อย 8703.60.92 ประเภทย่อย 8703.60.93 ประเภทย่อย 8703.60.94 ประเภทย่อย 8703.60.95 ประเภทย่อย 8703.60.96 ประเภทย่อย 8703.60.97 ประเภทย่อย 8703.60.98 ประเภทย่อย 8703.70.34 ประเภทย่อย 8703.70.41 ประเภทย่อย 8703.70.42 ประเภทย่อย 8703.70.43 ประเภทย่อย 8703.70.44 ประเภทย่อย 8703.70.45 ประเภทย่อย 8703.70.46 ประเภทย่อย 8703.70.47 ประเภทย่อย 8703.70.51 ประเภทย่อย 8703.70.52 ประเภทย่อย 8703.70.53 ประเภทย่อย 8703.70.54 ประเภทย่อย 8703.70.55 ประเภทย่อย 8703.70.56 ประเภทย่อย 8703.70.57 ประเภทย่อย 8703.70.58 ประเภทย่อย 8703.70.61 ประเภทย่อย 8703.70.62 ประเภทย่อย 8703.70.63 ประเภทย่อย 8703.70.64 ประเภทย่อย 8703.70.65 ประเภทย่อย 8703.70.66 ประเภทย่อย 8703.70.67 ประเภทย่อย 8703.70.71 ประเภทย่อย 8703.70.72 ประเภทย่อย 8703.70.73 ประเภทย่อย 8703.70.74 ประเภทย่อย 8703.70.75 ประเภทย่อย 8703.70.76 ประเภทย่อย 8703.70.77 ประเภทย่อย 8703.70.81 ประเภทย่อย 8703.70.82 ประเภทย่อย 8703.70.83 ประเภทย่อย 8703.70.84 ประเภทย่อย 8703.70.85 ประเภทย่อย 8703.70.86 ประเภทย่อย 8703.70.87 ประเภทย่อย 8703.70.91 ประเภทย่อย 8703.70.92 ประเภทย่อย 8703.70.93 ประเภทย่อย 8703.70.94 ประเภทย่อย 8703.70.95 ประเภทย่อย 8703.70.96 ประเภทย่อย 8703.70.97 ประเภทย่อย 8703.80.93 ประเภทย่อย 8703.80.94 ประเภทย่อย 8703.80.95 ประเภทย่อย 8703.80.96 ประเภทย่อย 8703.80.97 ประเภทย่อย 8703.80.98 ประเภทย่อย 8703.80.99 ประเภทย่อย 8703.90.93 ประเภทย่อย 8703.90.94 ประเภทย่อย 8703.90.95 ประเภทย่อย 8703.90.96 ประเภทย่อย 8703.90.97 ประเภทย่อย 8703.90.98 ประเภทย่อย 8703.90.99 ประเภทย่อย 8704.21.21 ประเภทย่อย 8704.21.22 ประเภทย่อย 8704.21.23 ประเภทย่อย 8704.21.24 ประเภทย่อย 8704.21.25 ประเภทย่อย 8704.21.29 ประเภทย่อย 8704.31.21 ประเภทย่อย 8704.31.22 ประเภทย่อย 8704.31.23 ประเภทย่อย 8704.31.24 ประเภทย่อย 8704.31.25 ประเภทย่อย 8704.31.29 ประเภทย่อย 8704.90.91 ประเภทย่อย 8704.90.92 ประเภทย่อย 8704.90.93 ประเภทย่อย 8704.90.94 และประเภทย่อย 8704.90.95 ที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อใช้ภายใต้โครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และภายหลังสิ้นสุดโครงการได้โอนไปเป็นของส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    3. รถยนต์บางประเภทที่มีลักษณะตามที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ (ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.5/2532 และศก.13/2533)ที่นำเข้ามาใช้ภายใต้โครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และภายหลังสิ้นสุดโครงการได้โอนไปให้กับส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
  7. ของอื่นๆ ที่ได้รับยกเว้นจากบทบังคับตามข้อ (4) ดังต่อไปนี้
    1. ของดังต่อไปนี้
      1. เฉพาะยานยนต์โดยสารที่มีที่นั่งตั้งแต่ 12 ที่นั่งขึ้นไป (รวมคนขับ) ตามประเภท 87.02 ที่นำเข้ามาเป็นรถโรงเรียน
      2. รถบรรทุกชนิดแวนตามประเภท 87.04 ที่นำเข้าเพื่อดัดแปลงเป็นยานยนต์โดยสารมีที่นั่งตั้งแต่ 12 ที่นั่งขึ้นไป (รวมคนขับ) และใช้เป็นรถโรงเรียน
      3. เฉพาะแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งตามประเภท 87.06 ที่นำเข้ามาเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์โดยสารมีที่นี่งตั้งแต่ 12 ที่นั่งขึ้นไป (รวมคนขับ) และใช้เป็นรถโรงเรียน
      4. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นของตามพิกัดประเภทใด ที่นำเข้ามาเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานบกดังกล่าวข้างต้น และใช้เป็นรถโรงเรียนที่ได้รับการยกเว้นอากรในข้อ 3 (3.9) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2544 และนำเข้ามาในราชอาณาจักรเกินกว่าห้าปีนับแต่วันนำเข้า ได้รับการยกเว้นจากบทบังคับตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
    2. ให้ของไม่ว่าจะอยู่ในพิกัดประเภทใดนอกจากรถยนต์หรือยานยนต์ตามประเภท 87.01 ถึงประเภท 87.05 ที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2546 ให้การรับรองว่านำเข้ามาเพื่อใช้ในการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2546 ที่ได้รับการยกเว้นอากรในข้อ 3 (17) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากรตามาตรา 12 แห่งพระราชกาหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2546 ได้รับการยกเว้นจากบทบังคับตามความในมาตรา10แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 หากได้โอนของนั้นไปเป็นของส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจเฉพาะที่เป็นองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งกิจการนั้นในลักษณะให้โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าภาระติดพัน
    3. ให้เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นของตามพิกัดประเภทใดซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม นำเข้ามาหรือสั่งให้นำเข้ามาเพื่อใช้ภายใต้โครงการเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Thailand National CFCs Phaseout Plan) ตามที่ได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีที่ได้รับการยกเว้นอากรในข้อ 3 (31) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 (ฉบับที่2) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2550 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 (ฉบับที่5) ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2550 และของที่ได้รับยกเว้นอากรในข้อ 3 (30) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2555 ได้รับการยกเว้นจากบทบังคับตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 หากได้โอนของนั้นไปเป็นของส่วนราชการในลักษณะให้โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าภาระติดพัน ทั้งนี้ สำหรับการโอนตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2547เป็นต้นไป

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าของเอกสิทธิ์

  1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  2. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading of Air Waybill)
  3. หนังสือขอยกเว้นอากรของกระทรวงการต่างประเทศพร้อมแบบฟอร์ม D.P.I. (ENTRY FORM FOR DIPLOMATIC CLEARANCE OF GOODS IMPORTED BY DEPLOMATIC MISSIONS INTERNATIONAL ORGANIZTIONS) ที่ออกให้โดยกระทรวงการต่างประเทศ (กรณีของที่ได้รับเอกสิทธิทางการทูต และข้อผูกพันกับองค์การสหประชาชาติ) สัญญาความตกลงช่วยเหลือระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ฉบับสมบูรณ์ (กรณีของที่นำเข้าตามโครงการความช่วยเหลือที่ไม่ผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ) ผลการพิจารณาให้ยกเว้นอากร (กรณีของที่นำเข้าตามโครงการความช่วยเหลือที่ไม่ผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ)
  4. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หนังสือมอบอำนาจ

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าของเอกสิทธิ์

  1. ผู้นำเข้ายื่นคำร้องขอยกเว้นอากรที่ฝ่ายเอกสิทธิ์และส่งเสริมการลงทุน ส่วนบริการกลาง สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำของเข้าพร้อมเอกสารประกอบ
  2. เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสอบสิทธิ ในการยกเว้นอากรและตรวจเอกสารการขอยกเว้นอากร หากถูกต้องจะมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้า
  3. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าและนำใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมเอกสารไปแสดงที่ฝ่ายบริการศุลกากร เพื่อขอรับของออกจากอารักขาศุลกากร
  4. สำหรับของที่นำเข้าตามความตกลงฟลอเรนส์ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมผู้นำเข้าต้องยื่นเรื่องขอยกเว้นอากรก่อนที่จะนำของเข้ามาในประเทศที่สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการเมื่อได้รับอนุมัติให้ยกเว้นอากรแล้วกรมศุลกากรจะส่งหนังสือขอยกเว้นอากรของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ ไปยังหน่วยงานพิธีการของด่านศุลกากรที่นาของเข้า เพื่อปฏิบัติพิธีการยกเว้นอากรศุลกากรให้แก่ผู้นำของเข้าต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หากมีข้อสอบถามหรือข้อเสนอแนะประการใดโปรดติดต่อ
ฝ่ายเอกสิทธิ์และส่งเสริมการลงทุน ส่วนบริการกลาง สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ
โทร. 0-2667-7000 ต่อ 20-5523, 20-7638 หรือ 20-5539

ฝ่ายเอกสิทธิ์และส่งเสริมการลงทุน ส่วนบริการกลาง สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โทร. 0-2667-7000 ต่อ 25-3216 หรือ 0-2134-1252
 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 ตุลาคม 2561 14:56:33
จำนวนผู้เข้าชม : 239,623

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร