บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 389 เข้าชมวันนี้
  • 80,599 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,565,536 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


เห็นมีโฆษณาเรื่องอบรมหลักสูตร “ ตัวแทนออกของ” ที่จัดโดยเอกชน ขอสอบถามว่าเรียนแล้วไปทำหน้าที่อะไรกับกรมศุลกากร

วันที่ : 21 พฤษภาคม 2563 11:35:29
จำนวนผู้เข้าชม : 21,604

คำถาม :

เห็นมีโฆษณาเรื่องอบรมหลักสูตร “ ตัวแทนออกของ” ที่จัดโดยเอกชน ขอสอบถามว่าเรียนแล้วไปทำหน้าที่อะไรกับกรมศุลกากร

คำตอบ :

ก่อนที่จะตอบคำถาม ขออธิบายเรื่องตัวแทนออกของ ให้เข้าใจก่อน

           ตัวแทนออกของ คือ นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมศุลกากรเพื่อทำหน้าที่แทนผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก  ซึ่งได้มอบอำนาจให้มาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร เช่น  เสียค่าภาษีอากรและรับของที่นำเข้า หรือ ดำเนินการส่งของออกไปต่างประเทศ   ซึ่งบุคคลที่มาติดต่อต้องมีความรู้ด้านการศุลกากร  เนื่องจากการนำของเข้า หรือส่งของออก ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการที่กรมศุลกากรกำหนดที่เรียกว่า การปฏิบัติพิธีการศุลกากร 

          กรมศุลกากรได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะมาเป็นตัวแทนออกของเพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร คือ

          1. กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และ มีคุณสมบัติ ดังนี้     

                   1.1 เป็นสมาชิกของสมาคมตัวแทนออกของที่กรมศุลกากรรับรอง

                   1.2 ไม่มีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรอย่างร้ายแรง หรือถูกกรมศุลกากรเพิกถอนการอนุญาตเป็นตัวแทนออกของ

                   1.3 ต้องแจ้งชื่อพนักงาน/ลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการออกของ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของนิติบุคคลนั้นๆ  และต้องปฏิบัติงานให้กับตัวแทนออกของรายเดียวเท่านั้น  โดยพนักงาน / ลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติ คือ

                         1.3.1 เป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ชำนาญการศุลกากร หรือ 

                         1.3.2 เป็นบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของจากสมาคมหรือสถาบันที่กรมศุลกากรรับรองและผ่านการทดสอบข้อสอบมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด  ไม่มีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรอย่างร้ายแรงหรือถูกกรมศุลกากรเพิกถอนการอนุญาตเป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ 

                         บุคคลในข้อ 1.3.1 และ 1.3.2  ต้องดำเนินการลงทะเบียนด้วยตนเองกับกรมศุลกากรในฐานะเป็นผู้มีสิทธิปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ โดยการลงทะเบียนมีอายุคราวละ 3 ปี และก่อนหมดอายุต้องต่ออายุกับกรมศุลกากร  การไม่มาขอต่ออายุจะถือว่าขาดคุณสมบัติ    หากประสงค์จะเป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของอีกต้องไปดำเนินการเรื่องการทดสอบข้อสอบมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด                 

          2. กรณีเป็นบุคลธรรมดา ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยโดยต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 1.3 1 และ 1.3.2  พร้อมทั้งต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรณีเป็นนิติบุคคล   และสามารถใช้ชื่อของตนเองเป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของได้ โดยในฐานะที่เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ ต้องดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 1.3

         

          จากหลักเกณฑ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าตัวแทนออกของนิติบุคคลต้องมีพนักงาน / ลูกจ้างที่มีความรู้ด้านการศุลกากร หรือ ตัวแทนออกของบุคคลธรรมดา ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการศุลกากร  กรมศุลกากรจึงได้สนับสนุนให้เอกชนเป็นผู้จัดอบรมหลักสูตร “ตัวแทนออกของ”  โดยสมาคม หรือสถาบันที่จัดอบรมหลักสูตร  “ตัวแทนออกของ”  ต้องได้รับอนุมัติหลักสูตรจากกรมศุลกากร  ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากร   ในด้านการเรียนการสอนแต่ละสถาบันจะจัดหลักสูตรและมีการสอบวัดผลการเรียน 

          ท่านสามารถค้นหาชื่อสมาคมหรือสถาบันที่ได้รับการรับรองจากกรมศุลกากร ได้จากเว็บไซต์กรมศุลกากร  เลือกหัวข้อ
“ผู้ประกอบการ”  เลือก “สมัครสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ”  ระบบจะเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของสถาบันวิทยาการศุลกากร

















           เมื่อผ่านการอบรมแล้ว  หากบุคคลนั้นๆประสงค์จะประกอบอาชีพเป็นพนักงาน / ลูกจ้างของตัวแทนออกของนิติบุคคล หรือ ประกอบอาชีพตัวแทนออกของบุคคลธรรมดา  บุคคลนั้นๆต้องผ่านการทดสอบความรู้โดยใช้ข้อสอบมาตรฐานที่กรมศุลกากรจัดทำขึ้น  อย่างไรก็ดี การทดสอบความรู้ที่กรมศุลกากรจัดทำขึ้นเปิดกว้างสำหรับบุคคลทุกคนที่ได้ผ่านหลักสูตร “ตัวแทนออกของ” แม้ว่าจะไม่ประสงค์จะไปประกอบอาชีพตามที่กล่าวข้างต้นก็ตาม 

           บุคคลที่ผ่านการทดสอบข้อสอบมาตรฐานและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กรมศุลกากรกำหนด  บุคคลนั้นจะสามารถประกอบอาชีพเป็นพนักงาน/ลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการออกของในสถานประกอบการของตัวแทนออกของนิติบุคคล   หรือ  สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็น ตัวแทนออกของแบบบุคคลธรรมดา ก็ได้ 



วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 22 พฤษภาคม 2563 11:03:24
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร