บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 5,496 เข้าชมวันนี้
  • 144,542 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,480,889 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


การนำเข้ายากำพร้า

วันที่ : 20 กุมภาพันธ์ 2563 15:50:37
จำนวนผู้เข้าชม : 10,660

คำถาม :

การนำเข้ายากำพร้า

คำตอบ :

         ยากำพร้าในประเทศไทย หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง หรือยาที่มีอัตราการใช้ต่ำ โดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน

สถานการณ์การขาดแคลนยาจำเป็น หรือ ยากำพร้า ทำให้ ครม. ได้อนุมัติยกเว้นภาษีนำเข้ายาประเภทนี้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดหายา และสร้างความมั่นคงให้ระบบยาของประเทศ โดยออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 2) กำหนดให้เพิ่มข้อความ (51) ในข้อ 3 ของ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 โดยมีใจความว่า ให้ยกเว้นอากรสำหรับผลิตภัณฑ์ยารักษาหรือป้องกันโรคในตอนที่ 30 เฉพาะที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และระบุ (P) ต่อท้ายในเลขทะเบียนตำรับยา เว้นแต่ยากำพร้าที่สามารถผลิตและหาได้ในประเทศไทย 11 รายการ ดังต่อไปนี้ที่ไม่ได้รับยกเว้นอากร

1. เบนซาโทรพีนเมซิเลต Benzatropine mesilate

2. ไฮโดรคอร์ทิโซน Hydrocortisone

3. ไอเวอร์เม็กทิน Ivermectin

4. เมทิลีนบลู Methylene blue

5. เพอร์เมทริน Permethrin

6. โซเดียมแคลเซียมเอดีเตท Sodium calcium edetate

7. โซเดียมไนไตรท์ Sodium nitrite

8. โซเดียมไทโอซัลเฟต ร้อยละ 25 Sodium thiosulfate 25%

9. เซรุ่มแก้พิษงู Antivenom sera

- เซรุ่มแก้พิษงูกะปะ  Malayan Pit Viper antivenin

- เซรุ่มแก้พิษงูสามเหลี่ยม Banded Krait antivenin

- เซรุ่มแก้พิษงูเห่า Cobra antivenin

- เซรุ่มแก้พิษงูจงอาง King Cobra antivenin

- เซรุ่มแก้พิษงูแมวเซา Russell's Viper antivenin

- เซรุ่มแก้พิษงูเขียวหางไหม้ Green Pit Viper antivenin

- เซรุ่มแก้พิษงูทับสมิงคลา Malayan Krait antivenin

10. เซรุ่มแก้พิษงูระบบโลหิตPolyvalent antivenom for hemato

11. เซรุ่มแก้พิษงูระบบประสาท Polyvalent antivenom for neurotoxin

ดังนั้น หากมีการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคในตอนที่ 30 เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สาธารณสุข และระบุ (P) ต่อท้ายในเลขทะเบียนตำรับยา ก็จะได้รับยกเว้นอากรศุลกากร ยกเว้นยา 11 รายการที่ระบุไม่ให้ได้รับสิทธิยกเว้นอากร

ทั้งนี้แม้จะได้รับยกเว้นอากรศุลกากร แต่ยังมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และต้องขอใบอนุญาตนำเข้าก่อนการนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 20 กุมภาพันธ์ 2563 15:51:56
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร