บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 348 เข้าชมวันนี้
  • 80,558 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,565,495 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


การคำนวณราคานำเข้า Incoterm จากราคา FOB เป็น ราคา CIF มีวิธีการคำนวณอย่างไร

วันที่ : 9 เมษายน 2562 15:07:29
จำนวนผู้เข้าชม : 188,829

คำถาม :

การคำนวณราคานำเข้า Incoterm จากราคา FOB เป็น ราคา CIF มีวิธีการคำนวณอย่างไร

คำตอบ :

          ราคา CIF มีเงื่อนไขการส่งมอบคือผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางบนเรือ ณ ต้นทาง และผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทําพิธีการส่งออก รวมทั้งทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าระวางเรือ และค่าประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งสินค้าจนถึงท่าเรือปลายทางที่ระบุ

         ราคา FOB มีเงื่อนไขการส่งมอบคือผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบเมื่อสินค้าวางบนสินค้า ณ ท่าเรือต้นทาง   ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทําพิธีการส่งออก ผู้ซื้อจะรับภาระในการทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าระวางเรือ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบ (ท่าเรือต้นทาง)

            ตามกฎหมายศุลกากรบัญญัติว่า  ราคาศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าต้องรวมค่าประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และ ค่าจัดการต่างๆที่เกี่ยวกับการขนส่งของมา
ยังท่า หรือที่หรือสนามบินศุลกากร ที่นำเข้า ดังนั้น กรณีราคาที่ตกลงซื้อขายกันเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายข้างต้นเหล่านั้นไว้ เมื่อจะสำแดงราคาของที่นำเข้าในใบขนสินค้า จำเป็นที่จะต้องปรับราคานั้นๆให้เป็นราคา
CIF 

         กฎหมายศุลกากรให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการออกประกาศกำหนดมูลค่าที่เกี่ยวกับค่าประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และ ค่าจัดการต่างๆที่เกี่ยวกับการขนส่งของมายังท่า หรือที่ หรือสนามบินศุลกากร ที่นำเข้า  อธิบดีกรมศุลกากรได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้

          1. การปรับราคา  FOB  ให้เป็น CIF ให้ดำเนินการ ดังนี้

              1.1  กรณีมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ให้นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมารวมกับราคา FOB   

              1.2. กรณีไม่มีค่าใช้จ่ายจริง อธิบดีกรมศุลกากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้

                     1.2.1 กรณีไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงค่าประกันภัย  ให้บวกค่าประกันภัย 1 % ของราคา FOB

                     1.2.กรณีไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงค่าขนส่ง ให้ดำเนินการตามวิธีการขนส่งดังนี้

                               (1) การนำเข้าทางเรือ และ ทางบก ให้บวกค่าขนส่ง 10% ของราคา FOB

                               (2) การนำเข้าทางอากาศยาน ให้บวกค่าขนส่งเข้ากับราคาของและค่าประกันภัย ดังนี้

                                    (2.1) ให้ใช้ค่าขนส่งตามที่ปรากฏในต้นฉบับ HAWB  (House Air Waybill) จากท่าต้นทางบรรทุกซึ่งได้รับการรับรองจากบริษัทผู้ดำเนินการคลังสินค้าอนุมัติ

                                    (2.2) หากไม่ปรากฏค่าขนส่งของในต้นฉบับ HAWB  หรือไม่มี HAWB ให้ใช้ค่าขนส่งที่ปรากฏใน MAWB (Master Air Waybill)

                                    (2.3) หากไม่ปรากฏค่าขนส่งของในต้นฉบับ HAWB  หรือไม่มี HAWB หรือไม่ปรากฏค่าขนส่งของใน MAWB  ให้ใช้อัตราเฉลี่ยค่าขนส่งของตาม Full  IATA Rate 

ตามหนังสือ The Thai Cargo Tariff

                                    (2.4) ค่าขนส่งของสำหรับของเร่งด่วนไม่ว่าจะมีผู้โดยสารนำพาหรือไม่ก็ตาม ให้ใช้อัตราเฉลี่ยค่าขนส่งของตาม Zone ที่กรมศุลกากรอนุมัติให้ใช้

                                    (2.5) ของที่นำเข้าทางอากาศยาน  แต่มีบัญชีราคาสินค้าแสดงราคารวมค่าขนส่งทางเรือไว้ ให้หักค่าขนส่งทางเรือออกเสียแล้วบวกรวมค่าขนส่งทางอากาศยาน

ที่ได้ชำระจริง หากไม่ทราบค่าขนส่งทางเรือที่จะนำมาหักให้หัก 10% ของราคาของ

                                           กรณีนี้อาจเกิดขึ้นจากเป็นของที่ซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขส่งมอบทางเรือและเป็นราคา CIF ทางเรือ  แต่ผู้ขายส่งของมาให้ผู้ซื้อทางอากาศ  การสำแดงราคาเพื่อคำนวณค่าภาษีอากร  ต้องเป็นราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยทางอากาศ   ผู้นำเข้าต้องแปลงราคา CIF ทางเรือ ให้เป็น CIF ทางอากาศ  หากสามารถทราบราคาค่าขนส่งทางเรือให้นำจำนวนดังกล่าวมาหักออกได้ แล้วบวกด้วยค่าขนส่งทางอากาศยานที่ผู้ขายหรือผู้ส่งของออกได้ชำระไป   แต่หากไม่ทราบค่าขนส่งทางเรือที่จะนำมาหักออก อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดว่า ให้คำนวณค่าขนส่งของทางเรือในอัตราร้อยละ 10 ของราคาของ  

                                (3) การนำเข้าทางไปรษณีย์ ให้บวกค่าขนส่งตามอัตราไปรษณียากรสำหรับพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ  ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่ใช้อยู่ในขณะนำเข้า

          2. กรณีซื้อขายกันด้วยเงื่อนไขการส่งมอบ เป็น   EXW   / FAS / FCA

              หากไม่ปรากฏหลักฐานการชำระเงินที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขนของลง การขนของขึ้นในการขนย้ายของจากสถานที่ส่งมอบไปยังท่าส่งออก ให้บวกด้วย 3% ของราคาดังกล่าว 

เพื่อแปลงให้เป็นราคา FOB ก่อน   แล้วจึงคำนวณตามหลักเกณฑ์การแปลง FOB เป็น CIF ต่อไป

          3. กรณีนอกเหนือจากนี้ ให้นำเสนออธิบดีกรมศุลกากร พิจารณาเป็นกรณี ๆ

 


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562 11:28:42
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร