จะสามารถใช้อินวอยส์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายที่อยู่ในประเทศไทยมาปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้หรือไม่ กรณีบริษัท A ในประเทศไทยได้สั่งซื้อของจากบริษัท B ในประเทศไทย โดยบริษัท B ได้สั่งให้บริษัท C ในต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิต ผลิตสินค้าและส่งให้บริษัท A โดยตรง กรณีเช่นนี้ บริษัท A จะต้องใช้อินวอยส์ฉบับใดในการจัดทำใบขนสินค้าเพื่อชำระอากรขาเข้าและภาษีอื่นๆเพื่อนำของออกจากอารักขาศุลกากร
-
หน้าหลัก
- FAQ
วันที่ : 1 มิถุนายน 2563 15:06:17
จำนวนผู้เข้าชม : 6,819
คำถาม : จะสามารถใช้อินวอยส์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายที่อยู่ในประเทศไทยมาปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้หรือไม่ กรณีบริษัท A ในประเทศไทยได้สั่งซื้อของจากบริษัท B ในประเทศไทย โดยบริษัท B ได้สั่งให้บริษัท C ในต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิต ผลิตสินค้าและส่งให้บริษัท A โดยตรง กรณีเช่นนี้ บริษัท A จะต้องใช้อินวอยส์ฉบับใดในการจัดทำใบขนสินค้าเพื่อชำระอากรขาเข้าและภาษีอื่นๆเพื่อนำของออกจากอารักขาศุลกากร
คำตอบ :
ตามหลักการในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้า ถือว่า การขายระหว่างบริษัท A และ B
เป็นการขายที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทย
ดังนั้น การสำแดงราคาเพื่อการคำนวณค่าภาษีอากร
ต้องใช้หลักฐานการขายระหว่าง A และ
B (อินวอยส์ 2)
และหากยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามคำจำกัดความในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้า
ต้องนำมารวมเป็นฐานสำหรับการคำนวณอากรตามร้อยละของราคาด้วย ปัจจุบันสามารถใช้อินวอยส์ ระหว่าง A กับ B ไปใช้ในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ด้วย

นอกจากนี้
กรมศุลกากรโดยกองพิกัดอัตราศุลกากรได้ออกประกาศกองพิกัดอัตราศุลกากรที่ 4/2563 สามารถใช้อินวอยส์ระหว่าง
B กับ A และ C/O ที่มีชื่อผู้นำเข้าเป็นบริษัท
A มาจัดทำใบขนสินค้าได้เช่นเดียวกัน โดยใน C/O จะสำแดงเลข อินวอยส์
ระหว่าง B กับ C หรือ อินวอยส์ ระหว่าง B กับ A ก็ได้ ( ยกเว้น FORM E ต้องใช้ อินวอยส์ ระหว่าง B กับ C
เท่านั้น )

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 1 มิถุนายน 2563 15:14:07
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848