บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 5,395 เข้าชมวันนี้
  • 144,441 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,480,788 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


กรณีผู้ส่งออกจากประเทศญี่ปุ่นออก Form ให้กับผู้ซื้อประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามโดยตรง แต่จะนำสินค้าเข้ามาที่ประเทศไทยโดยใช้สิทธ์ FREE ZONE หรือ BONDED เพื่อทำการตรวจสอบก่อนส่งไปยังประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว กรมศุลกากรสามารถออกเอกสารรับรองว่าสินค้านั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการผลิตในประเทศไทยให้กับผู้นำเข้าทุกรายได้หรือไม่

วันที่ : 14 พฤษภาคม 2563 09:18:04
จำนวนผู้เข้าชม : 4,229

คำถาม :

กรณีผู้ส่งออกจากประเทศญี่ปุ่นออก Form ให้กับผู้ซื้อประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามโดยตรง แต่จะนำสินค้าเข้ามาที่ประเทศไทยโดยใช้สิทธ์ FREE ZONE หรือ BONDED เพื่อทำการตรวจสอบก่อนส่งไปยังประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว กรมศุลกากรสามารถออกเอกสารรับรองว่าสินค้านั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการผลิตในประเทศไทยให้กับผู้นำเข้าทุกรายได้หรือไม่

คำตอบ :

         ปัจจุบันกรมศุลกากรได้มีประกาศกรมศุลกากรที่ 118/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองการไม่เปลี่ยนแปลงสภาพสินค้าของกรมศุลกากร (Non-Manipulation Certificate ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2558 ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวออกให้กับการนำสินค้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP เมื่อส่งออกไปสหภาพยุโรป แต่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรและนำเข้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) หรือเขตปลอดอากร (Free Zone) หรือเขตประกอบการเสรี (I-EAT Free Zone) แล้วภายหลังส่งออกไปยังสหภาพยุโรปโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือกระบวนการใด ๆ ในตัวสินค้าดังกล่าวขณะอยู่ในกำกับดูแลของศุลกากร เท่านั้น

          การดำเนินการตามคำถามดังกล่าว ยังไม่มีประกาศกรมศุลกากรใด ๆ ออกมาใช้บังคับ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงไม่มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองใด ๆ ให้  อย่างไรก็ตามหากเป็นการนำของตามความตกลงใดเข้ามาเก็บไว้ในอารักขาศุลกากร และ ในความตกลงนั้น ๆ กำหนดให้สามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดกรณีส่งไปขายต่อยังประเทศสมาชิกตามความตกลงเดียวกันกับสินค้า ที่เรียกว่า  BACK TO BACK  หรือ MOVEMENT CERTIFICATE  ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการตามความตกลงนั้นได้  ผู้รับสินค้าในประเทศสมาชิกยังคงสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามความตกลงนั้น ๆ ได้  โดยไม่ต้องขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรออกเอกสารใด ๆ 


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 14 พฤษภาคม 2563 09:20:14
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร