กรณีนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิ BOI แต่วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพ ผู้ขายไม่ต้องการให้ส่งกลับไปประเทศตน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งและทำลายแพงจึงขอให้บริษัททำลายเอง อยากทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินค่าภาษีและสามารถทำลายในเขตประกอบการเสรีได้หรือไม่ หรือจะส่งไปประเทศอื่นได้หรือไม่ อย่างไร
-
หน้าหลัก
- FAQ
วันที่ : 16 เมษายน 2563 15:44:48
จำนวนผู้เข้าชม : 7,023
คำถาม : กรณีนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิ BOI แต่วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพ ผู้ขายไม่ต้องการให้ส่งกลับไปประเทศตน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งและทำลายแพงจึงขอให้บริษัททำลายเอง อยากทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินค่าภาษีและสามารถทำลายในเขตประกอบการเสรีได้หรือไม่ หรือจะส่งไปประเทศอื่นได้หรือไม่ อย่างไร
คำตอบ :
วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ
BOI
แต่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ สภาพของวัตถุดิบยังอยู่ในสภาพวัตถุดิบขณะนำเข้า
การจะดำเนินการใด ๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก BOI เช่น
จะขอทำลายวัตถุดิบนั้น หาก BOI อนุญาตก็สามารถดำเนินการได้
วิธีการคือ บริษัทยื่นขออนุมัติทำลายตามวิธีที่เหมาะสมจาก BOI หากทำลายหมดจะไม่มีภาระภาษี แต่หากมีเศษซากหลังการทำลายที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์
และบริษัทประสงค์จะขอจำหน่ายหรือโอนเศษซากดังกล่าวภายในประเทศ จะต้องขอให้ BOI
มีหนังสือแจ้งไปยังกรมศุลกากรให้เรียกเก็บค่าภาษีอากรสำหรับเศษซาก
โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสอบสภาพของเศษซาก ประเมินราคาและคำนวณค่าภาษีอากรตามผลการตรวจสอบ
ซึ่งใช้พิกัดอัตราศุลกากรตามสภาพของเศษซาก โดยไม่เรียกเก็บเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ
แล้วมีหนังสือแจ้งให้บริษัท
ไปชำระค่าภาษีอากรให้ครบถ้วน โดยบริษัทจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าโอนย้ายชำระภาษี (P) เพื่อชำระอากรให้เสร็จสิ้นก่อนการจำหน่าย อนึ่ง
หลังจากการทำลายบริษัทต้องจัดส่งหลักฐานการดำเนินการต่าง ๆ ให้กับ BOI เพื่อขอตัดบัญชีวัตถุดิบด้วย
การจะนำเข้าไปทำลายในเขตประกอบการเสรี
ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเขตประกอบการเสรีไม่มีวัตถุประสงค์เป็นสถานที่รับทำลายของ
หากประสงค์จะส่งไปยังประเทศที่
3
บริษัทจะต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI
ก่อนการส่งออก ซึ่งสามารถทำได้โดยการปฏิบัติพิธีการศุลกากรส่งออกตามปกติ
แล้วนำใบขนสินค้าขาออกไปตัดบัญชีวัตถุดิบกับ BOI
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 16 เมษายน 2563 15:49:59
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848