คำตอบ : การส่งสินค้าไปซ่อมต่างประเทศที่มีการดำเนินการในปัจจุบันจะเป็นกรณีสินค้านั้นเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
ขณะนำเข้าได้ชำระค่าภาษีอากรทุกประเภทแล้ว เช่น เครื่องจักร ต่อมาสินค้านั้นเกิดการชำรุดเสียหาย
จำเป็นต้องส่งไปซ่อมแซมในต่างประเทศ และเมื่อดำเนินการแล้วจะนำกลับมาประเทศไทยอีก
กรณีเช่นนี้ พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 บัญญัติไว้ในภาค 4 ประเภทที่ 2
สรุปได้ว่า ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้วและภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม
ณ ต่างประเทศ และนำกลับเข้าภายในหนึ่งปีหลังจากได้รับใบสุทธินำกลับ
จะได้รับยกเว้นเพียงเท่าราคาหรือปริมาณแห่งของเดิมที่ส่งออกไปเท่านั้น สำหรับราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการซ่อมจะต้องชำระอากรตามพิกัดของของเดิมที่ส่งออกไป
ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการประกันภัย
นั่นแสดงว่า
ของที่ส่งออกไปซ่อมแล้วและนำกลับเข้ามาจะมีค่าภาษีอากรเฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนของค่าซ่อมแซมที่ไปดำเนินการเพิ่มเติมมาเท่านั้น เนื่องจากกฎหมายให้ยกเว้นราคาของที่ส่งอออกไป และ
ไม่ต้องนำค่าขนส่งและค่าประกันภัยในการนำเข้าครั้งหลังมารวมคำนวณเป็นราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าด้วย
ตัวอย่างเช่น
เครื่องจักรที่จะส่งออกไปซ่อมได้นำเข้ามาจากต่างประเทศ
ชำระอากรไว้ครบถ้วนตามใบขนสินค้า A0210610500125
ผู้นำเข้าประสงค์จะส่งเครื่องจักรนี้ออกไปซ่อมแซมความเสียหายจากการใช้งาน
โดยราคาเครื่องจักรที่จะส่งออกไปซ่อมนี้ ผู้นำเข้าแจ้งว่ามีราคา 100,000 บาท
การซ่อมแซม มีราคาค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5,000 บาท ค่าขนส่ง 2,000 บาท ค่าประกันภัย 300 บาท
การทำใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อนำเข้าเครื่องจักรที่ผ่านการซ่อมแซมแล้ว
จะคำนวณอากรขาเข้าจากราคา 5,000 บาท
เป็นราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้า
(เนื่องจากกฎหมายให้ยกเว้นราคาของที ส่งออกไป และ
ไม่ต้องนำค่าขนส่งและค่าประกันภัยในการนำเข้าครั้งหลังมารวมคำนวณเป็นราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าด้วย)
ใช้อัตราภาษีอากรของของที่ส่งออกไปซ่อม
และคำนวณค่าภาษีอื่นๆโดยใช้ฐานราคาศุลกากร
2.
การปฏิบัติพิธีการขอส่งออกไปซ่อมและการขอใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา
2.1 ผู้ส่งของออกยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
ณ ท่าที่ส่งของออกเพื่อแจ้งว่าจะขอส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมและจะนำกลับเข้ามาภายหลัง และจัดทำใบขนสินค้าขาออกที่แสดงว่าเป็นของที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรและชำระภาษีอากรแล้ว
(แสดงเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าที่นำเครื่องจักรเข้ามาและชำระอากรแล้ว)
2.2 ใบสุทธิสำหรับนำกลับถือเป็นใบรับรองการบรรทุกซึ่งหน่วยงานผู้ออกจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ
40บาท
2.3 ใบสุทธินำกลับมีอายุ 1 ปี
นับแต่วันที่ส่งออก แต่หากไม่สามารถนำกลับได้ภายใน 1 ปี ผู้ส่งออกสามารถขยายกำหนดเวลาได้ กรมศุลกากรจะขยายเวลาให้ตามสมควรแก่กรณีแต่ไม่เกินครั้งละ
1 ปี
2.4 ในการนำเข้า
ผู้ส่งออกซึ่งเป็นผู้นำเข้ามาจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าโดยระบุรายการที่สำคัญที่แสดงว่าเป็นของที่นำกลับเข้ามาภายหลังการซ่อมแซมในส่วน
รายการในใบขนสินค้า ดังนี้
ระบุ
Re
–Importation Certificate = Y
สำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติ
ตรงกับของที่ส่งออกไปซ่อม
ระบุ
Import
Tariff = 2 Part 4
ระบุ Privilege Code = 000
อัตราอากรใช้ อัตราที่ลดหย่อนเป็นการทั่วไปเท่านั้น
มูลค่าการนำเข้า
CIF
= ค่าซ่อม
ในช่องรายการใบขนสินค้าที่อ้างถึง
บันทึกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกที่ส่งเครื่องจักรออกไป
คำนวณอากร โดยใช้ฐานราคา CIF = ค่าซ่อม คูณ
อัตราอากรทั่วไป
คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยใช้ฐานราคา CIF + อากรขาเข้าที่คำนวณได้
กรณีไม่มีใบสุทธิสำหรับนำกลับ
ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานพิธีการนำเข้า ณ ท่า หรือที่ที่นำเข้าเพื่อขอผ่อนผันและ/หรือขยายกำหนดเวลา โดยต้องอธิบายเหตุผลและต้องยื่นใบตราส่งสินค้าฉบับขาออก
และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ประกอบการตรวจสอบ