บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 276 เข้าชมวันนี้
  • 64,439 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,549,376 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


การดำเนินการด้านศุลกากรเพื่อนำของออกจากอารักขาศุลกากร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

วันที่ : 28 กันยายน 2561 13:02:16
จำนวนผู้เข้าชม : 75,739

คำถาม :

การดำเนินการด้านศุลกากรเพื่อนำของออกจากอารักขาศุลกากร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำตอบ :

ขั้นตอนการดำเนินการด้านการศุลกากร ประกอบด้วย  

1. การลงทะเบียนเป็นผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ตัวแทนผู้ขนส่ง ตัวแทนออกของ ผู้รับผิดชอบการบรรจุ  และอื่นๆ

ในการดำเนินการใดเกี่ยวกับการศุลกากร กฎหมายกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ควบคุมยานพาหนะเข้าออก   ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ตัวแทนออกของ  และ อื่นๆ กรมศุลกากรได้ออกประกาศกำหนดให้บุคคลดังกล่าวต้องมาลงทะเบียนกับกรมศุลกากร  เพื่อให้ทราบหน้าที่ความรับผิดชอบ และ แสดงความสัมพันธ์ทางธุรกรรมระหว่างเอกชนต่อเอกชน โดยวิธีการจดทะเบียนเป็นผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ผู้ดำเนินการใดๆทางศุลกากร สามารถค้นหาได้ในเว็บไซด์ของกรมศุลกากร ที่ www.customs.go.th  

    1.1  สถานที่ยื่นคำขอลงทะเบียน

           1) ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร  ซึ่งตั้งอยู่ที่ ชั้น 1 อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร 

           2) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานศุลกากร หรือด่านศุลกากรใด  

    1.2 อายุของทะเบียน

         ไม่มีอายุเวลาสำหรับผู้ลงทะเบียนที่ดำเนินธุรกรรมกับกรมศุลกากรอย่างต่อเนื่อง  เว้นแต่ กรณีที่กรมศุลกากรพบว่าผู้ลงทะเบียนไม่มีการดำเนินการด้านการศุลกากรติดต่อกันภายในระยะเวลา 6 เดือน กรมศุลกากรจะระงับการใช้ข้อมูลทะเบียน

2. การดำเนินกระบวนการทางศุลกากรในระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร 

    2.1 การส่งข้อมูลใบขนสินค้าในระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันกรมศุลกากรได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนงานการนำเข้า การส่งออก  และ การผ่านประเทศ  เรียกว่า ระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ผู้ที่ประสงค์จะดำเนินพิธีการศุลกากรในระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารต้องได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ส่งข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร โดยสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเป็นผู้ทดสอบโปรแกรมการส่งข้อมูลต่างๆ และอนุมัติให้เป็นผู้ส่งข้อมูลได้  ปัจจุบันการส่งข้อมูลสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

          2.1.1 ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก จัดหาโปรแกรมการส่งข้อมูลและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งด้วยตนเอง

          2.1.2 ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก จ้างตัวแทนออกของที่มีโปรแกรมการส่งข้อมูลและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นผู้ส่งให้

          2.1.3 ใช้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส

          2.1.4 ใช้บริการการบันทึกโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร กรณีนี้มีค่าธรรมเนียมการบันทึกข้อมูล 100 บาท นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการศุลกากร 200 บาท

     2.2 เมื่อจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าในระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ระบบกรมศุลกากรจะแจ้งให้ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกมาชำระค่าภาษี และ ตรวจปล่อยของจากศุลกากร

3.  การดำเนินกระบวนการทางศุลกากรในรูปแบบเอกสาร สำหรับของบางประเภท

     กรมศุลกากรได้กำหนดให้การนำเข้า ส่งออก ซึ่งของบางประเภทไม่ต้องดำเนินพิธีการศุลกากรในระบบพีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์  ดังนั้น ผู้นำเข้า หรือ ผู้ส่งออก ที่ไม่เคยลงทะเบียนกับกรมศุลกากร ก็สามารถดำเนินการรับของ ส่งของ ชำระค่าภาษีอากรได้โดยไม่ต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า ผู้ส่งออก กับกรมศุลกากร

     กระบวนการนำเข้า ส่งออก ซึ่งไม่ต้องปฏิบัติพิธีการในระบบพีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่ 

     3.1. การนำของเข้าทางไปรษณีย์ 

            3.1.1 ของที่ส่งมายังผู้รับมีราคาศุลกากรไม่เกิน 1500 บาท และไม่ใช่ของต้องห้ามนำเข้า หรือ ของที่ต้องขออนุญาตนำเข้า

            3.1.2 ของที่มีลักษณะเป็นของตัวอย่างที่ใช้ได้เพียงการเป็นตัวอย่างไม่สามารถใช้ประโยชน์จากของตัวอย่างนั้นได้ 

            ของในข้อ 3.1.1และ 3.1.2 เนื่องจากเป็นของที่มีกฎหมายบัญญัติให้ยกเว้นอากรทุกประเภท กรมศุลกากรจะส่งมอบของให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้นำของไปส่งให้ผู้รับ

             3.1.3 ของจากผู้ส่งรายหนึ่งถึงผู้รับรายหนึ่งในคราวเดียวกัน โดยมีราคาของไม่เกิน  40,000 บาท  และเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ร่วมกันเปิดตรวจของ  และ เจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นผู้ประเมินค่าภาษีอากรสำหรับของนั้น  เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งมอบของให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด นำไปรอ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้บ้านผู้รับของ พร้อมส่งแบบแจ้งการรับของให้ผู้รับของทราบ ผู้รับของสามารถไปรับของได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ตามที่แจ้ง และชำระค่าอากรขาเข้าและภาษีอื่นๆ โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นหลักฐานการชำระค่าภาษี 

             กรณีผู้รับของไม่ประสงค์จะรับของ หรือ มีประเด็นร้องขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทบทวนการประเมินค่าภาษีอากร ผู้รับของสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เพื่อขอให้ดำเนินการ

             กรณีขอให้ทบทวนการประเมินค่าภาษี ผู้รับของพิมพ์เอกสารการขอทบทวนการประเมินจากเว็บไซด์ของกรมศุลกากร และ ส่งเอกสารพร้อมหลักฐานที่แสดงการซื้อขายของดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ เพื่อให้ส่งของนั้นกลับไปที่ทำการศุลกากร และ ผู้รับของไปดำเนินการต่อไปกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร

        3.2. การส่งของออกไปต่างประเทศทางไปรษณีย์  

              ของดังต่อไปนี้ ที่ไม่เป็นของต้องห้าม หรือ ต้องขออนุญาตก่อนส่งออก  หรือไม่เป็นของที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือ ไม่ใช้สิทธิยกเว้นอากรตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530  หรือ ไม่ประสงค์จะนำหลักฐานการส่งออกไปใช้เครดิตค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม    สามารถส่งของ  ณ ที่ทำการไปรษณีย์ได้โดยไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้าขาออกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร  สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้โดยไม่ต้องดำเนินพิธีการใดๆกับกรมศุลกากร 

               1. ของทั่วไปที่ราคาของไม่เกิน 10,000 บาท  

               2. อัญมณีที่มีราคาของไม่เกิน 50,000 บาท และ  

              คำเตือน การส่งตัวอย่างสินค้า หรือการส่งของออก ที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในเรื่องการเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วยระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร เท่านั้น

        3.3. การนำเข้า ส่งออก ของบางชนิดทางด่านชายแดน

               3.3.1 การนำของติดตัวเข้ามาทางด่านพรมแดน หรือจุดผ่านแดนถาวร หรือจุดผ่านแดนชั่วคราว หรือจุดผ่อนปรนทางการค้า โดยเป็นของที่มีมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) หรือ กรณีเป็นของต้องกำกัดในการนำเข้าตามกฎหมาย แต่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบให้นำเข้าได้  และผู้นำของเข้ามีเงินพร้อมที่จะชำระอากรให้เสร็จในวันนำเข้านั้น

               เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคำนวณเงินค่าภาษีและออกใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานการชำระค่าภาษี

               3.3.2 การส่งออกทางด่านชายแดน มูลค่าของไม่เกิน 50,000 บาท  และไม่เป็นของต้องเสียภาษีอากรขาออก ไม่เป็นของต้องห้าม หรือ ต้องกำกัดการส่งออก ไม่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร  ไม่ใช้สิทธิยกเว้นอากรตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ให้ยื่นใบแจ้งรายละเอียดสินค้าขาออก (กศก.153) เป็นแบบที่กรมศุลกากรกำหนดเพื่อกำกับการส่งออกของทางด่านชายแดน    

        3.4. การนำเข้า ส่งออก โดยใช้บริการผู้ประกอบการของเร่งด่วนที่ไปรับ ส่งของที่สถานประกอบการ

               3.4.1 ของนำเข้าที่เป็นเอกสารต่างๆ  ที่ไม่ต้องเสียอากรตามภาค 2  แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530

               3.4.2 ของนำเข้าที่ส่งมายังผู้รับมีราคาศุลกากรไม่เกิน 1500 บาท และไม่ใช่ของต้องห้ามนำเข้า หรือ ของที่ต้องขออนุญาตนำเข้า

               3.4.3 ของนำเข้าที่มีลักษณะเป็นของตัวอย่างที่ใช้ได้เพียงการเป็นตัวอย่าง ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากของตัวอย่างนั้นได้ 

               3.4.4 ของนำเข้ามูลค่าไม่เกิน 40,000 บาท และไม่เป็นของต้องห้ามนำเข้า หรือเป็นของที่ต้องขออนุญาตนำเข้า และผู้นำของเข้ายินยอมให้ผู้ประกอบการของเร่งด่วนทำหน้าที่แทนตนในการดำเนินการด้านศุลกากร  โดยผู้ประกอบการของเร่งด่วนจะทำหน้าที่ด้านการศุลกากรพร้อมชำระค่าภาษีอากรให้ก่อน และจะนำของไปส่งให้ที่สถานประกอบการของผู้รับ  โดยกรมศุลกากรจะออกใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากรตามรายชื่อผู้นำของเข้า

               3.4.5 ของส่งออกที่เป็นเอกสารต่างๆ ที่ไม่ต้องเสียอากรขาออก และไม่เป็นของต้องห้ามส่งออก หรือ เป็นของที่ต้องขออนุญาตส่งออก

               3.4.6 ของส่งออกมูลค่าไม่เกิน 500,000 บาท และไม่เป็นของต้องเสียภาษีอากรขาออก ไม่เป็นของต้องห้าม หรือ ต้องกำกัดการส่งออก ไม่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ไม่ใช้สิทธิยกเว้นอากรตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530


                         ของในข้อ 3.
4.1- 3.4.6 กรมศุลกากรอนุมัติให้ผู้ประกอบการของเร่งด่วนเป็นผู้ดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรแทนผู้นำของเข้า / ผู้ส่งของออก   ดังนั้นหากผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออกที่ตกลงให้ผู้ประกอบการของเร่งด่วนดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรแทนตน ก็ไม่ต้องลงทะเบียนเป็นผู้นำของเข้า / ผู้ส่งของออก กับกรมศุลกากร

 


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 2 ตุลาคม 2566 12:04:20
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร