บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 5,399 เข้าชมวันนี้
  • 144,445 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,480,792 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


เอทีเอ คาร์เนท์ (ATA CARNET) คืออะไร

วันที่ : 25 กันยายน 2561 15:38:46
จำนวนผู้เข้าชม : 29,926

คำถาม :

เอทีเอ คาร์เนท์ (ATA CARNET) คืออะไร

คำตอบ :

          เอทีเอ คาร์เนท์  เป็นระบบการวางประกันค่าภาษีอากรระหว่างประเทศโดยใช้แบบฟอร์มมาตรฐาน ( แบบฟอร์ม เอทีเอ คาร์เนท์ ) แสดงรายละเอียดที่จำเป็นแทนใบขนสินค้าขาเข้า ขาออก และผ่านแดน ที่ใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนในการนำสินค้าเข้าชั่วคราวโดยได้ยกเว้นอากร   เอกสาร เอทีเอ คาร์เนท์ มีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออกเอกสาร และ ของที่นำเข้าชั่วคราวต้องนำกลับไปยังประเทศผู้ส่งออกภายใน 6 เดือนนับแต่นำเข้า เว้นแต่มีความจำเป็นอาจขอขยายเวลาได้แต่ไม่เกินอายุของเอกสาร  โดยผู้ออกเอกสารและทำหน้าที่ค้ำประกัน คือ สภาหอการค้าในประเทศผู้ส่งออก

          เอกสาร เอ ที เอ คาร์เนท์ (ATA CARNET) 1 ชุด ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

          - ปกหน้าและปกหลัง (สีเขียว) และใบต่อ (สีขาว) (ปกหน้า(สีเขียว) ของเอกสาร เอ ที เอ (ATA CARNET) จะระบุชื่อประเทศภาคีสมาชิกและชื่อของสมาคมผู้ค้ำประกัน)

          - แบบส่งออกและแบบนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักร (สีเหลือง)

          - แบบนำเข้าและแบบส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (สีขาว) และ

          - แบบผ่านแดนขาเข้าและแบบผ่านแดนขาออก (สีฟ้า)

         

          ชื่อที่ปรากฏในเอกสาร เอทีเอ คาร์เนท์  มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

          เอกสาร เอ ที เอ คาร์เนท์ (ATA CARNET) ออกมาจากต้นทางผู้ส่งออก มี 2 ชื่อ

              1.เจ้าของของ

              2.ผู้แทนที่เกี่ยวเนื่องกับของในการส่งออก นำเข้า เช่น พนักงานของเจ้าของ / ตัวแทนออกของ / ผู้ที่เจ้าของมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนในการส่งออก นำเข้า 


           การใช้เอกสาร เอ ที เอ คาร์เนท์ (ATA CARNET) ในประเทศไทย สามารถใช้กับการส่งออก นำเข้า ได้ทุกชนิดหรือไม่

          ใช้กับการนำของออกเป็นการชั่วคราวและภายหลังนำกลับเข้ามาโดยได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 ประเภท 1  หรือ นำเข้าเป็นการชั่วคราวเฉพาะที่ประเทศไทยเป็นภาคีและได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามภาค 4 ประเภท 3 ดังนี้

          1. อนุสัญญาศุลกากรว่าด้วยการนำเข้าชั่วคราวซึ่งเครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพ ได้แก่

              1.1 เครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สำหรับการแพร่เสียงหรือการแพร่ภาพทางโทรทัศน์

              1.2 เครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพการสร้างภาพยนตร์

              1.3 เครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพอื่น ๆ เช่น

                   1.3.1 เครื่องมือใช้ในการสร้าง การทดสอบ การใช้งาน การตรวจสอบ การควบคุม  การบำรุงรักษาหรือ ซ่อมแซม เครื่องจักรโรงงาน พาหนะที่ใช้ในการขนส่ง

                   1.3.2 เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับนักธุรกิจ ที่ปรึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของธุรกิจ   ผู้เชี่ยวชาญด้านประสิทธิภาพการผลิต นักบัญชีและสมาชิกของวิชาชีพที่คล้ายคลึงกัน

                   1.3.3 เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ทำการสำรวจภูมิประเทศหรืองานสำรวจทางภูมิศาสตร์

                   1.3.4 เครื่องมือและเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับแพทย์ ศัลยแพทย์ สัตวแพทย์ การผดุงครรภ์

                   1.3.5 เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพให้ความบันเทิง คณะละคร และวงดนตรีออเคสตร้า  รวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ทั้งหมดที่ใช้ ในการแสดงสำหรับสาธารณชนและที่

                           ไม่ใช่สาธารณชน

          2. อนุสัญญาศุลกากรเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสำหรับการนำของเข้าเพื่อนำออกแสดง หรือใช้ในงานนิทรรศการ งานแสดงสินค้า งานประชุม หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน เช่น

              2.1 ของที่นำเข้ามาเพื่อนำออกแสดงหรือสาธิตในงานนิทรรศการ งานแสดงสินค้า หรืองานประชุม

              2.2 ของที่นำเข้ามาเพื่อใช้เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าต่างประเทศออกแสดงในงานนิทรรศการงานแสดงสินค้า หรืองานประชุม

              2.3 เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์การแปล เครื่องมือสำหรับการบันทึกเสียงและภาพยนตร์เกี่ยวกับการศึกษา วิทยาศาสตร์ หรือวัฒนธรรม สำหรับใช้ในการประชุม

                   ระหว่างประเทศ

              2.4 ฟิล์มภาพยนตร์โฆษณาโพสิทีฟขนาดไม่เกิน 16 มม. ที่มีภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะหรือการทำงาน ของผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ไม่สามารถสาธิตได้โดยเพียงการดูจากตัวอย่างสินค้าหรือแคตตาล็อก

          3. อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการนำเข้าตัวอย่างสินค้าทางการค้าและวัตถุในการโฆษณา

          4. อนุสัญญาศุลกากรว่าด้วยการนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้าชั่วคราว ได้แก่

              4.1 เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวิจัยหรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องอะไหล่ของเครื่องมือดังกล่าว

              4.2 เครื่องมือทางช่างที่ใช้บำรุงรักษา ทดสอบ วัด หรือซ่อมแซมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวิจัย หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

              

              อนึ่ง สินค้าที่กล่าวข้างต้นนั้น ในบางรายการมีข้อจำกัดหรือมีข้อกำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์เงื่อนไขกำกับไว้ด้วย ซึ่งจะดูรายละเอียดได้จากอนุสัญญาฯ ที่เกี่ยวข้อง


           ของที่ไม่สามารถใช้เอกสาร เอ ที เอ (ATA CARNET)

             1. สินค้าตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับแจกจ่ายฟรีให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ

             2. สินค้าที่นำเข้ามาสาธิตและถูกบริโภคหรือทำลายไปในกระบวนการของการสาธิต

             3. สินค้าที่มีมูลค่าต่ำที่ใช้ในการก่อสร้าง การตกแต่ง และการประดับประดาร้านชั่วคราว

             4. สิ่งพิมพ์ แคตตาล็อก หนังสือแจ้งทางการค้า บัญชีราคาสินค้า แผนภาพโฆษณา ปฏิทิน ภาพถ่าย

             5. แฟ้มเอกสาร บันทึก แบบฟอร์ม และเอกสารอื่น ๆ ที่นำเข้ามาใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ

             6. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ และ น้ำมันเชื้อเพลิง

             7. ของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิต หรือ ซ่อมแซม

             8. รถยนต์ที่นำเข้ามาชั่วคราว แม้ว่าผู้ขับขี่จะมีเอกสาร CAR CARNET ก็ตาม 


              ข้อดี / ข้อพึงระวัง ของเอกสาร เอ ที เอ คาร์เนท์ (ATA CARNET)

              ข้อดี

                 1. ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้าขาออกและใบขนสินค้าขาเข้าที่เกี่ยวข้องในการส่งออก การนำเข้า การนำกลับ

                 2.ไม่ต้องดำเนินการในเรื่องการหาผู้ค้ำประกันในประเทศผู้นำเข้า

              ข้อพึงระวัง

                 1.ใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรกับประเทศที่เป็นสมาชิกด้วยกันเท่านั้น

                 2.ของที่นำเข้าหากไม่นำของกลับต้องชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายของประเทศผู้นำเข้า หากไม่ชำระอากรให้ครบถ้วน ผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้ชำระแทนและจะมาเรียกกับผู้ส่งออกในประเทศผู้ส่งออกซึ่งเป็นผู้ขอให้ออกเอกสาร 


          สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://ccc.customs.go.th หัวข้อ 1164

          หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ฝ่ายเอ.ที.เอ.คาร์เนท์และมาตรฐานสินค้า โทร. 02-018-6888 ต่อ 3020, 303   e-mail: ata@thaichamber.org


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562 14:19:17
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร